ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Bamboo grass
Bamboo grass
Thysanolaena latifolia (Roxb. ex Hornem.) Honda (Syn. Thysanolaena maxima Kuntze)
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Poaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Thysanolaena latifolia (Roxb. ex Hornem.) Honda (Syn. Thysanolaena maxima Kuntze)
 
  ชื่อไทย ตองกง, ก๋ง
 
  ชื่อท้องถิ่น น่ำหยาว(เมี่ยน), ต้าวฉึเจ๋ (ม้ง), เค่ยแม(กะเหรี่ยงเชียงใหม่),ก๋ง(คนเมือง), มิ้วฮูเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), ลำก๋ง,ลำกร่อล(ลั้วะ), ตองกง(ไทใหญ่), เควยะหล่า(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ตาร์ล(ขมุ), บ่งบิ๊(ปะหล่อง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ล้มลุก จำพวกหญ้า อายุหลายปี สูงประมาณ 4 ม. ต้นกลม
ใบ ค่อนข้างกว้าง กว้าง 4 – 7 ซม. ยาว 30 – 55 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบป้าน ขอบใบจักละเอียด เนื้อใบค่อนข้างหนา กาบใบเกลี้ยง ยกเว้นตามขอบตอนบนมีขนสั้น กาบใบกลมตอนปลายเป็นก้านสั้น ๆ ซึ่งมีสีแดงเข้ม ลิ้นใบที่ระหว่างรอยต่อด้านในของกาบใบและแผ่นใบเป็นเยื่อบาง ๆ ยาวประมาณ 2 มม. ปลายตัด
ดอก ออกเป็นช่อกระจาย มีขนาดใหญ่ ปลายช่อโค้งลง ยาวประมาณ 50 ซม. ช่อดอกย่อย (spikelet) มีก้าน มักอยู่เป็นคู่ กาบช่อย่อย (glume) 2 อันคล้ายกัน รูปไข่ อันบนยาวและบางกว่าอันล่าง แต่ละช่อย่อยมีดอกย่อย 2 ดอก พบน้อยที่มี 3 ดอก ดอกล่างเป็นดอกไม่มีเพศ มีแต่กาบล่างและมีขนใกล้ ๆ ขอบ ดอกบนเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กาบล่าง (lemma) มีสันตามยาว 3 สัน ขอบทั้ง 2 ด้านบางใส และมีขนค่อนข้างแข็ง กาบบน (palea) มีเส้นสันตามยาว 2 เส้น เนื้อบางใส เกสรเพศผู้มี 2 อัน เกสรเพศเมียปลายแยกเป็น 2 แฉก เป็นขุย
ผล รูปไข่ ยาวประมาณ 0.6 มม. สีน้ำตาลแดง [7]
 
  ใบ ใบ ค่อนข้างกว้าง กว้าง 4 – 7 ซม. ยาว 30 – 55 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบป้าน ขอบใบจักละเอียด เนื้อใบค่อนข้างหนา กาบใบเกลี้ยง ยกเว้นตามขอบตอนบนมีขนสั้น กาบใบกลมตอนปลายเป็นก้านสั้น ๆ ซึ่งมีสีแดงเข้ม ลิ้นใบที่ระหว่างรอยต่อด้านในของกาบใบและแผ่นใบเป็นเยื่อบาง ๆ ยาวประมาณ 2 มม. ปลายตัด
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อกระจาย มีขนาดใหญ่ ปลายช่อโค้งลง ยาวประมาณ 50 ซม. ช่อดอกย่อย (spikelet) มีก้าน มักอยู่เป็นคู่ กาบช่อย่อย (glume) 2 อันคล้ายกัน รูปไข่ อันบนยาวและบางกว่าอันล่าง แต่ละช่อย่อยมีดอกย่อย 2 ดอก พบน้อยที่มี 3 ดอก ดอกล่างเป็นดอกไม่มีเพศ มีแต่กาบล่างและมีขนใกล้ ๆ ขอบ ดอกบนเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กาบล่าง (lemma) มีสันตามยาว 3 สัน ขอบทั้ง 2 ด้านบางใส และมีขนค่อนข้างแข็ง กาบบน (palea) มีเส้นสันตามยาว 2 เส้น เนื้อบางใส เกสรเพศผู้มี 2 อัน เกสรเพศเมียปลายแยกเป็น 2 แฉก เป็นขุย
 
  ผล ผล รูปไข่ ยาวประมาณ 0.6 มม. สีน้ำตาลแดง [7]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบ ใช้ห่อขนม ซึ่งมักจะทำในงานพิธีสำคัญต่างๆ เช่น พิธี ผูกข้อมือ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ก้านช่อดอก ตากแห้งแล้วนำไปมัดกับด้ามไม้ไผ่ใช้ทำไม้กวาด(เมี่ยน)
ใบสด ใช้เป็นอาหารเลี้ยงวัว(ม้ง)
- ใบ ใช้ห่อขนม ซึ่งมักจะทำในงานพิธีสำคัญต่างๆ เช่น พิธี ผูกข้อมือ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ใบ ใช้ห่อขนม(เมตอ)ข้าวเหนียวนึ่ง(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ช่อดอก ตากแห้งแล้วถักยึดกับด้ามไม้ใช้เป็นไม้กวาด(ปะหล่อง,ลั้วะ,ไทใหญ่,คนเมือง,ม้ง,ขมุ)
ใบ ใช้ห่อข้าวต้ม ช่อดอกทำไม้กวาด(กะเหรี่ยงแดง)
- ราก น้ำต้มใช้อมกลั้วคอเมื่อมีไข้ ดอก ช่อดอกใช้ทำไม้กวาด [7]
 
  อ้างอิง "เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[7] ก่องกานดา ชยามฤต, 2540. สมุนไพรไทยตอนที่ 6 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ."
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง